สำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข
rhsoffice4 rh4 036230929
ประชาสัมพันธ์

ระบบจัดยาผู้ป่วยนอกกึ่งอัตโนมัติ (ระบบราง) ห้องยาสำเภาทอง โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

    เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 4 เป็นประธานพิธีเปิด "โครงการระบบจัดยาผู้ป่วยนอกกึ่งอัตโนมัติ (ระบบราง) ห้องยาสำเภาทอง" ณ อาคารสำเภาทอง โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โดยมีนายแพทย์ปรีชา เปรมปรี สาธารณสุขนิเทศก์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า พร้อมผู้บริหารเขตสุขภาพที่ 4 และคณะเจ้าหน้าที่ร่วมพิธี โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาระบบ ช่วยให้ผู้รับบริการได้รับยาที่ถูกต้องและรวมเร็วมากยิ่งขึ้น ช่วยลดความแออัด ลดระยะเวลาการรอคอย เป็ยการยกระดับการให้บริการ และสอดคล้องกับนโยบายสาธารณสุข

   ผลการดำเนินงานระบบจัดยากึ่งอัตโนมัติ (ระบบราง) ห้องยาสำเภาทอง รายงานโดยภญ.นันทิยา สหสุทรวุฒิ เภสัชกรเชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ได้มีการดำเนินการเต็มรูปแบบ 1 มิถุนายน 2566 ภายหลังจากการนำระบบจัดยากึ่งอัตโนมัติ (ระบบราง) มาใช้ ในด้านของระยะเวลารอรับยาผู้ป่วยนอก ห้องยาสำเภาทอง ก่อน - หลังการใช้ระบบราง พบว่า
- ระยะเวลารอรับยาเฉลี่ย (นาที) เปรียบเทียบระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (n=4,028) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระหว่าง ต.ค. 65 - พ.ค. 66 (n=2,564) และ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระหว่าง 14 มิ.ย. - 28 ส.ค. 66 (n=50) คือ 74.52 นาที, 68.12 นาที และ 30.10 นาที ตามลำดับ  แสดงดังรูปที่ 1

- จำนวน Pre-dispensing error ต่อ 1,000 ใบสั่งยา เปรียบเทียบระหว่างเดือน ต.ค. 65 - ส.ค. 66 พบว่า หลังจากนำระบบจัดยากึ่งอัตโนมัติมาใช้ มี Pre-dispensing error ลดลงน้อยกว่า 10 ใบ ต่อ 1,000 ใบสั่งยา
   โดยการจัดยาผิดชนิด + ผิดความแรง + ผิดรูปแบบ มีแนวโน้มลดลง แสดงดังรูปที่ 2

แผนการพัฒนาห้องยาสำเภาทอง
เป้าหมาย :
   1. ระยะเวลารอรับยาเฉลี่ย < 30 นาที
   2. ระยะเวลารอรับยาสูงสุดเฉลี่ย < 60 นาที
แผนการพัฒนา :
  1. พัฒนาโปรแกรมคานวณขนาดยา Warfarin เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในขั้นตอนตรวจสอบคำสั่งใช้ยา
  2. พัฒนาโปรแกรมตรวจสอบประวัติการใช้ยา เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในขั้นตอนตรวจสอบคำสั่งใช้ยา
  3. พัฒนาโปรแกรมคานวณมูลค่ายาที่ผู้ป่วยต้องชำระเงินเองตามเงื่อนไขการสั่งใช้ยาของโรงพยาบาลให้การเงินรับทราบ แทนการสื่อสารด้วยกระดาษ
  4. พัฒนาระบบการเบิกยาจากคลังยา โดยให้คลังยากำหนดจานวนเบิกตามยอดการจ่ายให้ผู้ป่วย
  5. เพิ่มอัตรากาลังเภสัชกรให้เหมาะสมกับภาระงาน (ขอจัดสรรอัตรากาลังจากส่วนกลาง)