สำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข
rhsoffice4 rh4 036230929
ประชาสัมพันธ์
ผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้านไทย

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

ชื่อผลงาน นวัตกรรมรูปแบบบริการทางการแพทย์แผนไทย โดยการใช้สมุนไพรพอกเข่าในผู้ป่วยที่มีอาการ 
                  ปวดเข่า  สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี ลำพญากลาง 2560
 

ข้อมูลทั่วไป (ผู้จัดทำ)

          ชื่อ – สุกล (นาย/นาง/นางสาว) นางสาวดาวจันทร์ เดชสองชั้น

          ตำแหน่ง แพทย์แผนไทยชำนาญการ  

          สถานที่ปฏิบัติงาน สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา นวมินทราชินี ลำพญากลาง

          จังหวัด สระบุรี    โทรศัพท์ 085-4794599

ปีที่ดำเนินการ  2560

รายละเอียดบทคัดย่อของผลงานวิชาการ

          การแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine) คือ ปรัชญา องค์ความรู้ และวิถีการปฏิบัติ เพื่อการดูแล สุขภาพและการบำบัดรักษาโรค ความเจ็บป่วยของประชาชนไทยแบบดั้งเดิม สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมแบบไทยและวิถีชีวิตแบบไทย วิธีการปฏิบัติของการแพทย์แผนไทยประกอบด้วยการใช้สมุนไพร ที่มีหลายวิธีใช้ ตัวอย่างเช่น  การอบสมุนไพร การประคบสมุนไพร การใช้สมุนไพรในการเจ็บป่วยเบื้องต้น เป็นต้น และในปัจจุบันได้มีการศึกษาและค้นคว้าการใช้สมุนไพรในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นหัตการการแพทย์แผนไทยเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีการใช้มาเป็นเวลายาวนานแต่นำมาปรับให้เหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบัน เช่น การเผายา การพอกยา การกักน้ำมันเป็นต้น   ซึ่งปัจจุบันการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย  ทั้งการนวดไทย  การใช้สมุนไพรเพื่อใช้เป็นยา  อาหาร  ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ และหัตถการแผนไทยด้วยวิธีต่างๆ กำลังได้รับความนิยม  และได้รับการยอมรับทั้งจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชน

         จากการศึกษาพบว่าสมุนไพรที่ใช้ในการหมักทำยาสมุนไพรพอกเข่า  ต่างมีฤทธิ์ในการลดอาการปวดบวม ลดอาการอักเสบของข้อต่างๆ  ยาสมุนไพรพอกเข่า สามารถบรรเทาอาการปวดบวมบริเวณเข่าได้  โดยจากการศึกษาได้ทำการวัดระดับความเจ็บปวด VAS พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 85  มีอาการปวดเข่าทุเลาลงจากการพอกยาสมุนไพรพอกเข่า  และพบว่าผู้ป่วยมีความพึงพอใจในระดับดี-ดีมาก ร้อยละ 95 ของจำนวนกลุ่มตัวอย่าง

          จากการศึกษาครั้งนี้เป็นการนำสมุนไพร ได้แก่ ใบสะเดา เหง้าไพล เถาบอระเพ็ด ลูกใต้ใบ ผักกระสัง ผักเสี้ยนผี นำไปล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง ตากให้แห้ง  นำไปตำให้ละเอียด ร่อนเอาผงยา ได้สมุนไพรที่ลดอาการบวม แดง ร้อน ในผู้ป่วยข้อเข้าเสื่อม(ลมจับโปงแห้งเข่า) นำผงยาสมุนไพรใส่ถ้าถ้วย ผสมน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วให้พอเหนียว นำไปพอกให้ผู้ป่วยที่มารับบริการ 30 นาที ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการปวดบวมบริเวณเข่าที่มารับบริการที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯลำพญากลาง  จากการทดสอบใช้ในผู้ป่วยจำนวน 20 ราย โดยประเมินอาการจากแบบคัดกรองโรคเข่าเสื่อมและวัดระดับความเจ็บปวด VAS พบว่า ผู้ป่วยจำนวน 17 ราย มีอาการปวดบวมลดลงอย่างเห็นได้ชัด  และอีก 3 รายมีอาการปวดลดลงเล็กน้อยแทบจะไม่ได้เห็นความแตกต่างของก่อนและหลังรับการรักษาโดยวิธีพอกเข่าด้วยผงสมุนไพร ทั้งนี้จากการศึกษาได้ประเมินผลผู้ป่วยจากการใช้ผงพอกเข่าสมุนไพรโดยการรักษาเพียงครั้งเดียว